ระวัง! Anivirus และ Spyware Removal ของปลอม

บางครั้งเราโดนไวรัสจู่โจมเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นพวก trojan, adware หรือ spyware ก็มักจะโดนกันบ่อย ๆ ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องน่าปวดหัวทั้งกับผู้เชียวชาญด้านคอมพิวเตอร์ และกับมือใหม่

หากคอมพิวเตอร์ของคุณมีอาการแปลก ๆ เช่น Windows จะแสดง pop up แจ้งเตือนไวรัสโดยอัตโนมัติเมื่อคุณใช้งาน Internet หรือคอมพิวเตอร์มีอาการช้าลงอย่างเห็นได้ชัด ถ้ามีอาการแบบนี้เป็นไปได้ว่าคุณโดนไวรัสเข้าให้แล้ว

บางครั้งคนที่ตั้งใจปล่อยไวรัสเองก็คือบริษัทที่พยายามขายโปรแกรม Antivirus นั่นเอง ซึ่งเราเรียกว่า Fake Anitivirus หรือ Antivirus ของปลอมนั่นเอง ในบทความนี้เรามีตัวอย่าง Fake Antivirus มานำเสนอเพื่อให้คุณผู้อ่านได้ระวังไว้ ถ้าเจอเข้าจะได้รู้ทันครับ

Fake Antivirus ทำงานอย่างไร?

เรื่องน่าตลกอย่างหนึ่งของโปรแกรม Fake Antivirus พวกนี้ก็คือพวกนี้จะโฆษณา และโปรโมทสินค้าของตัวเองว่าสามารถช่วยลบ หรือแก้ปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์ได้ ทันทีที่คุณดาวน์โหลดโปรแกรม และทำการ install คุณก็จะติดไวรัสทันที ไวรัสที่พบจากโปรแกรมพวกนี้จเป็นตระกูล trojan เป็นส่วนใหญ่ หลังจากที่คุณติดไวรัสแล้วคุณจะเริ่มได้รับ pop-up windows บ่อย ๆ ซึ่งจะคอยบอกคุณว่า คุณจำเป็นต้องจ่ายเงินซื้อ full version ของ Anitivirus ตัวนั้นหากว่าคุณต้องการกำจัดไวรัสนั้นจริง ๆ

การทำงานอีกแบบหนึ่ง คือ Fake Anitivirus พวกนี้จะมีปุ่ม “full system scan” หรือ “ทำการแสกนไวรัสทั้งระบบ” แบบปลอม ๆ เมื่อคุณทำการแสกนแบบ full system แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คอมพิวเตอร์ของคุณจะติดไวรัสทีเดียวหลายตัวจำนวนยาวเป็นหางว่าว อย่างไรก็ตามเวลาที่คุณคลิ๊กที่ “remove” คุณจะได้รับข้อความว่าคุณกำลังใช้ trial version หรือเวอร์ชั่นทดลองใช้ หากคุณต้องการกำจัดไวรัสนี้ ก็จำเป็นต้องจะต้องจ่ายเงินซื้อ full version มาใช้

กลาวโดยรวม ๆ แล้วโปรแกรม Fake Antivirus จะพยายามทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณติดไวรัสที่ทางบริษัทนั้นเป็นผู้ผลิตไวรัสซะเอง แล้วก็ขายยา หรือ Antivirus เอง นับว่าเป็นกลยุทธทางการตลาดที่ชั่วร้ายจริง ๆ

Fake Anitivirus ที่เป็นที่รู้จัก

1. The Infamous Antivirus 2009

ตัวนี้ค่อนข้างดังทีเดียว นอกจากจะเรียกว่า Antivirus 2009 แล้วบางครั้งยังมาในชื่อ Antivirus 10 หรือ Antivirus 360 อีกด้วย ปกติโปรแกรมตัวนี้จะแฝงตัวแสดงโฆษณาอยู่ตามเว็บไซด์ต่าง ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณดาวน์โหลดมันมา ไม่วางจะตั้งใจ หรือเผลอไปกดตกลงดาวน์โหลดมา ก็มีโอกาสสูงที่คุณจะติดไวรัส

antivirus2009

ถ้าคุณกดปุ่ม Remove โปรแกรมตัวนี้ก็จะบอกให้คุณจ่ายเงินซื้อ full version ทันทีและถ้าคุณตกลงพลางของมันเข้า คุณก็จะถูกชาร์จบัตรเครดิตเพื่อซื้อโปรแกรมที่บ้า ๆ บอ ๆ ตัวนี้มานั่นเอง ซึ่งมันไม่สามารถทำหน้าที่เป็น Anitivirus จริง ๆ ได้แต่อย่างใดทั้งสิ้น

ยังดีอยู่บ้างที่มีหลาย ๆ เว็บไซด์เขียนบทความบอกวิธีเอาโปรแกรมนี้ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ที่ไม่ดีก็คือมีหลายเว็บไซด์ที่แสดงโฆษณา หรือแจ้งให้ user ทำการดาวน์โหลดโปรแกรมตัวนี้

2. Conficker Worm Installs Spyware Protect 2009

Fake Anitivirus ตัวนี้ระบาดค่อนข้างหนัก โดยหลอกผู้คนมากมายให้ทำการ update patch สำหรับเครื่อง PC เพื่อป้องกันไวรัสที่กำลังจะระบาด เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2009 มีบทความบน CNET รายงานว่าได้พบเงื่อนงำในการสาวไปถึงผู้สร้าง Conficker worm อย่างไรก็ตามแรงกระตุ้น หรือแรงจูงใจที่สำคัญของผู้สร้างมันก็เพื่อที่จะหาเงินด้วยวิธีหลอกลวงชาวบ้านนั่นเอง ไวรัสชื่อ Conficker worm นี้ซ่อนตัวอยู่ใน Fake Antivirus ที่ชื่อว่า Spyware Protect 2009 นั่นเอง

conficker1

โดยรวม ๆ แล้วโปรแกรมตัวนี้ทำงานเหมือนกับ Fake Antivirus ทั่ว ๆ ไปซึ่งก็คือทำให้ user เข้าใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัสมากมายยาวเป็นหางว่าว และทางเดียวที่จะกำจัดไวรัสเหล่านั้นก็คือซื้อ full version ของโปรแกรมตัวนี้นั่นเอง

3. PC AntiSpy Returns Fake Spyware Results

โปรแกรมตัวนี้ค่อนข้างร้ายกาจอีกเช่นกัน และถ้าจะว่าไปแล้วหลาย ๆ คนอาจเคยผ่านตามาบ้างเหมือนกัน โปรแกรมตัวนี้จะแสดงรายชื่อของ spyware มากมายว่าอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจไม่ได้มี spyware หรือไวรัสใด ๆ ติดอยู่บนเครื่องของคุณเลยก็ได้

และเช่นเดียวกันตาม concept วิธีการหาเงินที่ชั่วช้า โปรแกรมตัวนี้จะขอให้คุณจ่ายเงินซื้อ full version เพื่อกำจัดไวรัสที่ไม่มีอยู่จริงบนเครื่อง แุถมตัวมันเองยังเป็นไวรัสและกำจัดออกไปจากเครื่องค่อนข้างยากอีกด้วย

antispyware

บทความโดย 7boot.com